แววดาว ศิริสุข กับ โครงการพัฒนาต้นแบบวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม (Social Enterprise) สืบสานภูมิปัญญาล้านนา
คุณแววดาว ศิริสุข ได้เล่าถึงความสำเร็จของการขับเคลื่อน “โครงการสืบสานล้านนาสร้างสรรค์ ต่อยอดภูมิปัญญา นำพาวิสาหกิจชุมชนยั่งยืน” ที่เกิดจากถ่ายทอดภูมิรู้จากผู้อาวุโสของชุมชนสู่คนรุ่นใหม่ เพื่อส่งต่อไปยังเด็กเยาวชนที่จะเติบโตมาเป็นพลังสำคัญในการสร้าง พื้นที่ดี-ภูมิดี-สื่อดี โดยที่ผ่านมามีผลงานน่าภาคภูมิใจ ได้แก่ กิจกรรม “กินข้าวซอย กอยน้ำปิง อิงประวัติศาสตร์” ที่นำแนวคิดชุมชนพึ่งพาตนเอง มาออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม จนเป็นที่นิยมและรู้จักของนักท่องเที่ยว สามารถสร้างรายได้และความยั่งยืนให้กับท้องถิ่น และอีกหนึ่งกิจกรรม คือ “ฟ้อนล้านนาเพื่อการบำบัดฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ” เป็นการผสามผสานระหว่างความบันเทิงกับการออกกำลังกาย ช่วยสานสัมพันธ์ของคนต่างวัยให้สามารถทำกิจกรรมร่วมกันอย่างมีความสุขและสุขภาพแข็งแรง กดลิงค์เพื่อเข้าชมคลิป https://fb.watch/im2Aoy0PgO/
The Reading อ่านสร้างสุข โดย อ. สมบูรณ์ ศิงฆมานันท์ EP.1
อ.สมบูรณ์ ศิงฆมานันท์ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งวรรณกรรมสำหรับเด็ก มศว. ได้เล่าถึงแรงบันดาลใจในการริเริ่มวรรณกรรมสำหรับเด็ก เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน ซึ่งเป็นประตูบานแรกที่สร้างจินตนาการให้กับเด็ก จากจุดเริ่มต้นในการทำอาชีพครูที่บ้านเกิด ณ โรงเรียนสตรีพัทลุง กระทั่งได้มาเป็นครูประจำที่โรงเรียนสวนกุหลาบ และได้เรียนต่อปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) และย้ายมาเป็นอาจารย์ประจำอยู่ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเต็มตัวกว่า 30 ปี ระหว่างที่ทำงานเป็นอาจารย์อยู่นั้น อ.สมบูรณ์ พบว่าเด็กๆ ในชนบทมีความขาดแคลนหนังสืออยู่มาก จึงก่อตั้ง “โครงการหนังสือเพื่อเด็กชนบท” ขึ้น และขยายการทำงานเป็น “ห้องสมุดฉบับกระเป๋า” ที่ถูกออกแบบให้เป็นชั้นวางหนังสือแบบพกพาที่เปิดออกมามีหนังสืออยู่ในนั้น เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้มีหนังสือดี ๆ อ่านกัน กดลิงค์เพื่อเข้าชมคลิป https://fb.watch/ilZfRwlilA/
สูงวัยกับธรรมชาติและการรู้ทันสื่อ ICEM E-Bulletin: Vol.3
กรุณากดลิงค์เพื่อเข้าชมสื่อ E-Bulletin https://www.iceml.org/e-bulletin/Vol-03/ ธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลง กับเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสารที่มากมายในโลกสื่อสารและโลกออนไลน์ สิ่งเหล่านี้ผู้สูงวัยต้องเตรียมพร้อมในการรับข้อมูล และเท่าทันสื่อในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะเกี่ยวกับ “ภัยพิบัติ” ที่มักมาพร้อมกับข่าวลวง หรือ Fake News เป็นจำนวนมาก เนื้อหาภายในเล่มจึงนำเสนอความรู้การสร้างสมดุลการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ ตามหลักแนวคิด “เศรษฐกิจพอเพียง – มีภูมิคุ้มกัน รู้เหตุรู้ผล และความพอประมาณ” พร้อมกับบทความเด่น ผู้สูงวัยกับการรู้เท่าทันสื่อ “ความเชื่อ ความจริง เรื่องดิน น้ำ ลมไฟ” และ “การรับมือภัยพิบัติอย่างปลอดภัยจากบทเรียนประเทศญี่ปุ่น” และพลาดไม่ได้กับบทความ “เกษียณสดใส ท่องเที่ยวไปอย่างเท่าทัน” เพื่อสร้างประสบการณ์การเที่ยวอย่างปลอดภัย ปลอดโควิด 19
การรู้เท่าทันสื่อนานาชาติ ICEM Bulletin: Vol.2
กรุณากดลิงค์เพื่อเข้าชมสื่อ E-Bulletin https://www.iceml.org/e-bulletin/Vol-02/ การรู้เท่าทันสื่อนานาชาติ ฉบับนี้ พาผู้สูงวัยไปร่วมเรียนรู้แนวทางการสร้างเกราะป้องกันการรู้เท่าทันสื่อของเพื่อนๆ ในประเทศ ทั้งการให้ความช่วยเหลือและบริการด้านอิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้สูงอายุในสหราชอาณาจักรและสเปน รวมถึงไปประเทศออสเตรเลีย เพื่อศึกษาความสามารถการใช้สื่อและการเข้าถึงด้านความรู้เท่าทันสื่อ และพลาดไม่ได้สำหรับเพื่อนคอซีรีส์เกาหลี กับ Soft Power ที่มากับเรื่องราวที่เราชอบกัน และไม่ลืมที่จะเรียนรู้ สร้างภูมิคุ้มกันกับคาถาเท่าทันสื่อ หยุด-อย่าด่วนสรุปเอง , คิด-มีสติพิจารณาไตร่ตรอง , ถาม-สอบถามจากผู้รู้จริง ยืนยันสิ่งที่ถูกต้อง และ ทำ-ตัดสินและสรุปว่าข้อมูลน่าเชื่อถือแค่ไหน เพื่อสื่อสารต่อเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น
สงครามสื่อ ผู้สูงอายุ ICEM E-Bulletin: Vol.1
กรุณากดลิงค์เพื่อเข้าชมสื่อ E-Bulletin https://www.iceml.org/e-bulletin/Vol-01/ วันนี้ในโลกของการสื่อสารทั้งสื่อแบบดั้งเดิม และสื่อออนไลน์แบบใหม่ ล้วนเต็มไปด้วยไวรัสของสื่อที่พร้อมจะคุกคามทุกคน ไม่เว้นแม้กระทั่งผู้สูงวัย เปรียบเสมือนสมรภูมิรบของสื่อ ICEM E-Bulletin ฉบับแรก จึงประเดิมด้วยการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “นิเวศสื่อดิจิทัล” เพื่อเห็นความหลากหลายของสื่อ และภาพรวมของวิวัฒนาการของสื่อ จนนำมาถึง “สงครามสื่อ” ที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมการบริโภคนิยม แล้วสรุปถึงแนวทางการสร้างภูมิรู้เท่าทันสื่อในผู้สูงวัย กับ “บุพนิมิตแห่งมรรค 7 – หลักธรรมป้องกันภัยจากสื่อในผู้สูงวัย คือ มีเพื่อนผู้รู้ มีการรับสื่อที่เหมาะสม มีการใฝ่รู้สร้างสรรค์ มีการพัฒนาเรียนรู้ มีทัศนคติที่ดี มีสติไม่ประมาท และมีความคิดไตร่ตรอง”