สำหรับผู้บกพร่องการมองเห็น
สำหรับบุคคลทั่วไป สมัครเพื่อดาวน์โหลดไฟล์สื่อต่างๆ ภายในเว็บไซต์
อีเมล
ท่ามกลางโลกอันผันผวน มีขึ้นมีลง มีเรื่องวุ่นวายที่เข้ามากระทบจิตใจของเราตลอดเวลา ทุกคนต่างดิ้นรนไขว่คว้าหาความสุขมาเติมเต็มช่องว่างภายใน ซึ่งความสุขที่เราหามาได้นั้นก็ล้วนแต่เป็นความสุขที่เบี่ยงเบนความทุกข์ได้เพียงแค่ชั่วครู่เท่านั้น ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะมีความรู้สึก “เป็นสุข” ได้เพียงแค่ครู่เดียว ทั้งๆ ที่เรากลับใช้เวลาวิ่งตามความสุขเหล่านี้กันแทบจะทั้งชีวิต การสร้างสุขภาวะทางปัญญาเพื่อให้เกิดการตื่นรู้และรู้เท่าทันตนเองและความไม่แน่นอนของโลก จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะช่วยเรารับมือกับโลกยุคนี้ หนังสือเรื่อง “ปัญญาความสุข ในโลกอันผันผวน” บทเรียนแห่งความสำเร็จจากภารกิจสร้างสังคมสุขภาวะด้วยการขับเคลื่อนงานสุขภาวะทางปัญญา หนังสือเล่มนี้จะพาเราไปค้นพบความหมายของสุขภาวะทางปัญญาและนอกจากจะทำให้เราเข้าใจว่าทำไมเราถึงต้องการสุขภาวะทางปัญญาแล้ว ยังทำให้เรารู้อีกว่าที่จริงแล้วความสุขที่แท้จริงนั้นอยู่ใกล้กว่าที่เราคิด
รู้หรือไม่ว่าในวันวันหนึ่งเราใช้สมองส่วนไหนในการดำรงชีวิตมากที่สุด สมองส่วนหน้าส่วนที่ใช้สติปัญญาไตร่ตรอง ส่วนกลางส่วนของความรู้สึก หรือว่าส่วนหลังที่เป็นส่วนที่ดึกดำบรรพ์ที่สุดเพียงเพื่อเอาชีวิตรอดไปวันๆ อรุโณทัยแห่งการตื่นรู้สู่การเคลื่อนขยายมวลความสุข โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ประเวศ วะสี เป็นหนังสือที่พูดถึงการสร้างสุขภาวะทางปัญญา เพื่อการตื่นรู้ในระดับจุลภาคไปสู่ระดับมหภาค ด้วยการใช้สมองส่วนหน้าที่เป็นส่วนของมนุษย์ขั้นสูงในการเข้าถึงความเป็นจริง เพื่อให้เรารู้เท่าทันตนเองและเข้าใจความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในโลก รวมถึงการสร้างสังคมแห่งการตื่นรู้หรือสังคมยุคสมองส่วนหน้า ซึ่งเราทุกคนล้วนเป็นฟันเฟืองตัวหนึ่งหรือหนึ่งในมวลสารแห่งความสุขที่จะช่วยขับเคลื่อนสังคมไปสู่สังคมแห่งอารยะ
ในแต่ละวันเราทำบุญแบบไหนกันบ้าง คลิปวิดีโอ “ฉลาดทำบุญ” โครงการปันกันอิ่ม โครงการดีๆ ที่ทำให้เราได้เห็นอีกมุมหนึ่งของสังคมที่มีน้ำใจและเต็มใจที่จะแบ่งปันความสุขให้ผู้อื่นเพื่อบรรเทาทุกข์ โดยมีทั้งร้านอาหารและร้านน้ำที่มองเห็นว่าการแบ่งปัน คือ การทำบุญรูปแบบหนึ่งและสนใจเข้าร่วมโครงการ เพราะได้ทั้งทำบุญและได้ความสุขใจเมื่อเห็นผู้อื่นอิ่มท้อง พร้อมทั้งได้เชิญชวนร้านค้าต่างๆ ให้เข้าร่วมโครงการ เพื่อสร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน เพราะการให้เป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้สังคมมีความสุข
เมื่อเรานึกถึงการทำบุญเรามักจะนึกถึงแต่การให้ทานโดยเฉพาะการเข้าวัดทำบุญกับพระสงฆ์ ทว่าการทำบุญนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับการสละทรัพย์เท่านั้น แต่การสละเวลาและแรงกายในการช่วยเหลือผู้อื่นหรือสัตว์ที่เจ็บป่วยก็นับเป็นการทำบุญตามหลักพระพุทธศาสนาเช่นกัน คลิปเสียง มุมมองแนวคิดเรื่อง บุญ กับ จิตอาสา โดย พระอาจารย์ ไพศาล วิสาโล ซึ่งพระอาจารย์ไพศาลได้ให้มุมมองเกี่ยวกับการทำบุญไว้ว่า เพียงแค่เรามีจิตที่อาสาเราก็สามารถทำบุญหรือช่วยเหลือผู้อื่นได้ การทำบุญที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนานั้นคือการทำบุญที่ให้ทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านและนำมาซึ่งความปิติที่ได้บรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้อื่น รวมทั้งเกิดปัญญาแก่ผู้ให้เพราะผู้ให้จะรู้สึกว่ามีอัตตาตัวตนที่น้อยลง
รายงานสุขภาพคนไทยปี 2564 ที่นำเสนอ 10 หัวข้อสถานการณ์เด่นแห่งปี 2564 ที่เกิดขึ้นในสังคมและเป็นตัวชี้วัด “สุขภาพพื้นที่” ที่เป็นตัวสะท้อนความหลากหลายในประเด็นสุขภาพของคนไทย โดยรายงานฉบับนี้นำเสนอตั้งแต่เรื่อง สุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขภาพสังคม เศรษฐกิจ การเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพ ปัญหาเรื่องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมไปจนถึงสถานการณ์ Covid-19 มหันตภัยร้ายเขย่าโลก ที่เป็นประเด็นสำคัญที่ทุกประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญร่วมกัน ซึ่งเราจะได้เรียนรู้ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของสถานการณ์การระบาดของโรค การควบคุมและป้องกัน การต่อสู้กับการระบาดของหลายๆ ประเทศ รวมทั้งกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมถึงประเด็นเรื่องการพัฒนาวัคซีนและยารักษาโรคโควิด -19
บ่อยครั้งที่เราดูละครและเกิดอาการ “อิน” หรือ คล้อยตามพฤติกรรมของตัวละครในเรื่อง เพราะเนื้อหาและบทบาทของตัวละครในบางเรื่องอาจมีความคล้ายคลึงกับโลกแห่งความจริงในสังคม ละครโทรทัศน์ที่เราดูอยู่ทุกคืนจึงมีอิทธิพลโน้มน้าวพฤติกรรมของคนในสังคมได้ง่าย อีกทั้งละครโทรทัศน์เองยังเป็นสื่อที่เข้าถึงกลุ่มคนดูได้ง่ายที่สุด การผลิตละครโทรทัศน์ให้มีคุณภาพที่ดี นอกจากจะให้ความสนุกเพลิดเพลินแล้ว ควรให้ทั้งแง่คิดและสร้างทัศนคติที่ดีต่อคนดูและสังคม หลักสูตรการสร้างสรรค์บทละครโทรทัศน์ เพื่อการสร้างสรรค์ละครโทรทัศน์ในมิติใหม่ ที่สามารถส่งเสริมสังคมให้เกิดปัญญาและชักนำคนดูให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปสู่สิ่งที่ดีกว่า โดยยังคงไว้ซึ่งความกลมกลืนระหว่างพาณิชย์และศิลปะ เพื่อความสุนทรีย์ในชีวิตของคนในสังคม
น้อยคนนักที่จะปฏิเสธว่าไม่เคยดูละครหลังข่าว ละครโทรทัศน์ ธุรกิจการผลิตวัฒนธรรมของสังคมสมัยใหม่ที่สะท้อนแง่มุมและกระแสชีวิตที่เกิดขึ้นในสังคมในรูปแบบความบันเทิง แต่จะทำอย่างไรให้ละครโทรทัศน์ที่มีอิทธิพลต่อคนในสังคมมีความสร้างสรรค์สามารถนำพาสังคมไปสู่สังคมที่ดีกว่าได้และยังมีความกลมกลืนกันระหว่างพาณิชย์และศิลปะที่สร้างความสุนทรีย์ในชีวิตให้กับคนดูในสังคม บทความ ละครมิติสื่อเชิงสร้างสรรค์ต่อสังคม ที่เป็นการรวมตัวกันระหว่างบุคลากรฝ่ายการละครโทรทัศน์และสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. ในเวทีเสวนา การสร้างสื่อละครมิติใหม่ ที่สามารถชักนำสังคมและชักจูงให้คนดูมีปฏิสัมพันธ์อย่างเหมาะสมกับผู้คนรอบข้างและสังคม เพื่อทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่น่าอยู่และมีสุขภาวะที่ดี ครบทั้ง 4 มิติ
N/A
ภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ เป็นผลผลิตจากแนวคิดของ 6 ภาคีเครือข่ายสุขภาวะทางปัญญา สนับสนุนโดย สสส. มีจุดประสงค์เพื่อช่วยสนับสนุนให้คนไทยสามารถปรับตัวรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19 ปรับตัวอยู่กับวิถีชีวิตใหม่ได้อย่างมีความสุขทั้งกายและใจ ใช้วิกฤตให้เป็นโอกาสในการทำกิจกรรมช่วยเพิ่มความสุขใน 4 มิติ โดยนำเสนอกิจกรรมที่สามารถเติมความสุขและสติให้กับใจได้ต่อเนื่อง 14 วัน
วันนี้ความเป็นเมืองกำลังรุกคืบเข้าไปในทุกพื้นที่ พร้อม ๆ กับความสะดวกสบายที่เข้ามาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยีและการเดินทาง ในอีกด้านวิถีชีวิตเรากำลังถูกทำให้เปลี่ยนแปลงไป เราไม่อาจหยุดยั้งความเป็นเมืองที่รุกเข้ามาหาเราได้ แต่เราจะทำอย่างไรให้อยู่กับเมืองได้อย่างมีความสุข ติดตามใน ‘สุขภาวะคนเมือง เรื่องของทุกคน’ แง่มุมความคิดโดย ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส. จากงานเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการพื้นที่สร้างสรรค์สุขภาวะคนเมืองและชนบท
คลิปวิดีโอแนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สสส. (Long Version/ มีบทบรรยาไทย) : สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระบบสื่อยุคหลอมรวม สื่อดิจิทัลกลายเป็นสื่อกระแสหลักในสังคมโลก ได้ขยายบทบาทประชาชนจาก ‘ผู้รับสื่อ’ ให้กลายเป็นทั้ง ‘ผู้ใช้และผู้สร้างสื่อ’ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ยังรับและใช้สื่ออย่างไม่รู้เท่าทัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะในทุกมิติ เพื่อเป็นการเสริมสร้างปัจจัยที่จะโน้มนำคนไทยให้มีวิถีชีวิตสุขภาวะท่ามกลางบริบทของสังคมในยุคศตวรรษที่ 21 รวมถึงการพัฒนาคนสู่เป้าหมายของชาติ อันเป็นภารกิจของ สสส. แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้กำหนดเป้าหมายหลักการทำงานมุ่งให้ ‘คนไทยฉลาดใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่วิถีชีวิตสุขภาวะ’
คลิปวิดีโอแนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สสส. (Short Version / มีบทบรรยายไทย) : สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระบบสื่อยุคหลอมรวม สื่อดิจิทัลกลายเป็นสื่อกระแสหลักในสังคมโลก ได้ขยายบทบาทประชาชนจาก ‘ผู้รับสื่อ’ ให้กลายเป็นทั้ง ‘ผู้ใช้และผู้สร้างสื่อ’ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ยังรับและใช้สื่ออย่างไม่รู้เท่าทัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะในทุกมิติ เพื่อเป็นการเสริมสร้างปัจจัยที่จะโน้มนำคนไทยให้มีวิถีชีวิตสุขภาวะท่ามกลางบริบทของสังคมในยุคศตวรรษที่ 21 รวมถึงการพัฒนาคนสู่เป้าหมายของชาติ อันเป็นภารกิจของ สสส. แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้กำหนดเป้าหมายหลักการทำงานมุ่งให้ ‘คนไทยฉลาดใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่วิถีชีวิตสุขภาวะ’
รายงานสุขภาพคนไทย 2562 จัดทำโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเรื่องพิเศษประจำฉบับได้แก่ “สื่อสังคม สื่อสองคม” สุขภาวะของคนไทยในโลกโซเชียล ส่วนอื่น ๆ ได้แก่ ส่วน 12 หมวดตัวชี้วัดสุขภาพประชากรเปราะบาง ประกอบด้วย ประชากรข้ามชาติในไทย, ประชากรไทยในต่างแดน, ผู้ต้องขัง พนักงานบริการทางเพศ และผู้ใช้สารเสพติด, กลุ่มเพศวิถีนอกขนบ, คนจนและผู้มีรายได้น้อย, ครอบครัวเปราะบาง, กลุ่มเปราะบางจากปัญหาสุขภาพจิต, เด็กเปราะบาง, วัยรุ่น, และ ผู้สูงอายุ
คลิปวิดีโอแนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สสส. (Short Version) : สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระบบสื่อยุคหลอมรวม สื่อดิจิทัลกลายเป็นสื่อกระแสหลักในสังคมโลก ได้ขยายบทบาทประชาชนจาก ‘ผู้รับสื่อ’ ให้กลายเป็นทั้ง ‘ผู้ใช้และผู้สร้างสื่อ’ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ยังรับและใช้สื่ออย่างไม่รู้เท่าทัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะในทุกมิติ เพื่อเป็นการเสริมสร้างปัจจัยที่จะโน้มนำคนไทยให้มีวิถีชีวิตสุขภาวะท่ามกลางบริบทของสังคมในยุคศตวรรษที่ 21 รวมถึงการพัฒนาคนสู่เป้าหมายของชาติ อันเป็นภารกิจของ สสส. แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้กำหนดเป้าหมายหลักการทำงานมุ่งให้ ‘คนไทยฉลาดใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่วิถีชีวิตสุขภาวะ’
คลิปวิดีโอแนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สสส. (Long Version) : สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระบบสื่อยุคหลอมรวม สื่อดิจิทัลกลายเป็นสื่อกระแสหลักในสังคมโลก ได้ขยายบทบาทประชาชนจาก ‘ผู้รับสื่อ’ ให้กลายเป็นทั้ง ‘ผู้ใช้และผู้สร้างสื่อ’ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ยังรับและใช้สื่ออย่างไม่รู้เท่าทัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะในทุกมิติ เพื่อเป็นการเสริมสร้างปัจจัยที่จะโน้มนำคนไทยให้มีวิถีชีวิตสุขภาวะท่ามกลางบริบทของสังคมในยุคศตวรรษที่ 21 รวมถึงการพัฒนาคนสู่เป้าหมายของชาติ อันเป็นภารกิจของ สสส. แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้กำหนดเป้าหมายหลักการทำงานมุ่งให้ ‘คนไทยฉลาดใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่วิถีชีวิตสุขภาวะ’